หน้าหลัก


ผ้าไหมสุรินทร์


ประวัติความเป็นมา
                   จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจยิ่ง  หากศึกษาอย่างลึกซึ่งแล้ว  จะค้นพบเหตุผลหลายประการที่สนับสนุนว่า  จังหวัดสุรินทร์มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองในเรื่องผ้าไหม  ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ   ซึ่งส่งผลต่อการผลิตและการทอ  ไม่ว่าจะเป็นลวดลายของผ้าไหม  การผลิตเส้นไหมน้อย  และกรรมวิธีการทอ
                   จังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก โซกซัก”)  มาใช้ในการทอผ้า  ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก  เรียบ  นิ่ม  เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย  นอกจากนี้การทอผ้าไหมของจังหวัดสุรินทร์  ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อน  และเป็นกรรมวิธีที่ยาก  ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง  เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว  ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า  มีการทอที่เดียวใบประเทศไทย  จนเป็นที่สนพระทัยและเป็นที่ชื่นชอบของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ  ทรงรับสั่งว่า  ใส่แล้วเย็นสบาย  อีกทั้งยังใช้ฝีมือในการทออีกด้วย          

  ลักษณะเด่นของผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์
                           1.     มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์  โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจง    ประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล 
                           2.     นิยมใช้ไหมน้อยในการทอ  ซึ่งไหมน้อยคือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม  มีลักษณะนุ่ม  เรียบ  เงางาม
                           3.     นิยมใช้สีธรรมชาติในการทอ  ทำให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ  คือ สีจะออกโทนสีขรึม  เช่น  น้ำตาล  แดง  เขียว  ดำ  เหลือง   อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้
4.     ฝีมือการทอ  จะทอแน่นมีความละเอียดอ่อนในการทอและประณีต  รู้จักผสมผสานลวดลายต่างๆ
เข้าด้วยกัน  แสดงถึงศิลปะที่สวยงามกว่าปกติ
5.    แต่เดิมนั้นการทอผ้าไหมของชาวบ้านทำเพื่อไว้ใช้เอง และสวมใส่ในงานทำบุญและงานพิธีต่างๆ
การทอจะทำหลังจากสิ้นสุดฤดูกาลทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก  มิได้มีการทอเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด  จนมีคำกล่าวทั่วไปว่า พอหมดหน้านา  ผู้หญิงทอผ้า  ผู้ชายตีเหล็ก”   
 แหล่งผลิตผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์  จึงมีเกือบทุกหมู่บ้าน  ผู้สนใจสามารถไปชมกรรมวิธีการเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหมจากแหล่งต่าง ๆ  ได้มากมายหลายแห่ง    ลายผ้าไหมของชาวสุรินทร์  มีผู้จัดประเภทตามลักษณะการทอได้  6  ประเภท คือ
  
…………………………………………….
เอกสารอ้างอิง              หนังสือ ของดีเมืองสุรินทร์ ผ้าไหม-เครื่องเงิน”  โดย ผศ.เครือจิต  ศรีบุญนาค
   ผศ.อารีย์  ทองแก้ว  และนางสุปิยา  ลิมป์กฤตนุวัตร์ พ.ศ. 2539