วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

การปลูกหม่อนของหมู่บ้านสังแก

          จากการสัมภาษณ์  คุณยายพัดสา  ทองนำ บ้านเลขที่  39/1   ได้กล่าวว่า การปลูกหม่อนของหมู่บ้านสังแกนั้นจะต้องเตรียมการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับการเลี้ยงไหม จำนวนหม่อน 1  ไร่  จะต้องเลี้ยงไหมได้ประมาณ  3-5  แผ่นหรือที่เรียกว่ากระจาดเลี้ยงไหมต่อปี  (รุ่นละ   แผ่นๆละประมาณ  10,000-15,000  ตัว)  ปีละ  3-4  รุ่น  และยังกล่าวอีกว่าแปลงไหมที่ดีควรปลูกระยะห่างระหว่างแถวประมาณ  เมตร  และระยะห่างระหว่างต้นประมาณ   เมตร  หรือแล้วแต่เราจะวางและไม่ควรปลูกติดกันเกินไปเพราะจะทำให้เวลาต้นหม่อนโตขึ้นมาจะได้ไม่ต้องเบียดเสียดกันและยังง่ายต่อการเก็บอีกด้วย

          จากการสัมภาษณ์  คุณยายสำเนียง  บรรลือทรัพย์  บ้านเลขที่  37 กล่าวว่าการปลูกหม่อนนั้นจะต้องเตรียมดินก่อนที่เราจะปลูก  เราจะต้องไถเพื่อเปิดร่อง  รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก  และต้องมีน้ำเลี้ยงมากพอสมควร  บางบ้านก็ต่อท่อน้ำเพื่อใช้ในการรดต้นหม่อน  และในการปลูกระยะแรกเราควรที่จะเอาฟางมาวางไว้ข้างบนเพื่อที่จะได้อุ้มน้ำ  และหลังจากนั้นแล้วเวลาที่เราจะปลูกต่อก็ไถกลบฟางนั้นได้เลยโดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอกอีกต่อไป  การปลูกนั้นจะต้องมีระยะห่างการปลูกประมาณ  1-2  เมตร  และระยะห่างระหว่างต้นประมาณ   เมตร  หรือแล้วแต่เราแต่ไม่ควรปลูกติดกันจนเกินไป  และใน  2-3  เดือนเราจะสามารถเก็บได้  1-2  ครั้ง  หม่อนจำนวน   ไร่  เราจะเก็บมาเลี้ยงหม่อนได้ประมาณ  3-5  แผ่น  หรือมากกว่านั้นก็ได้ขึ้นอยู่กับการหั่นใบหม่อนของเรา



สวนหม่อนคุณแม่สำเนียง  เสนาะเสีย



    
การเลี้ยงไหมของหมู่บ้านสังแก
           ไหม คือ เส้นใยที่พ่นออกมาจากปากของตัวหนอนไหมที่โตเต็มวัย เพื่อมาห่อหุ้มตัว ป้องกันศัตรูทางธรรมชาติในขณะที่หนอนไหมลอกคราบจากหนอนไหมเป็นตัวดักแด้ และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ หนอนไหมเป็นแมลงชนิดหนึ่งซึ่งมีการเจริญเติบโตจากไข่ไหม (ขนาดเท่าเมล็ดงา) และเป็นตัวหนอนไหม ในขณะที่เป็นตัวหนอนไหมจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบประมาณ 3-4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 20-22 วัน และจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10,000 เท่า โดยการกินอาหารเพียงอย่างเดียว คือใบหม่อน
         ไหมเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะหยุดกินอาหาร แล้วพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง ที่เราเรียกว่ารังไหม ซึ่งมีลักษณะกลมรีคล้ายเมล็ดถั่ว และหากเรานำรังไหมมาต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 80C ขึ้นไปจะสามารถทำให้กาวไหม (sericin) อ่อนตัว และดึงออกมาเป็นเส้นยาวได้ ความยาวของเส้นใยจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการดูแลในช่วงที่เป็นหนอนไหม

สายพันธุ์ไหมหมู่บ้านสังแก
          จากการสัมภาษณ์  นายจำเริญ  บันลือทรัพย์  กำนันผู้ใหญ่บ้านสังแก  บ้านเลขที่  36  อายุ  43  ปี  ได้กล่าวว่าพันธุ์ไหมของหมู่บ้านสังแกนั้นได้มาจากเกษตรจังหวัดสุรินทร์ที่ได้เอามาแจกคนในหมู่บ้านสังแก  ซึ่งได้แก่

Bivoltine
         เป็นพันธุ์ที่อยู่ในแถบอากาศอบอุ่น เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี หนอนไหมมีอายุสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์  Monovoltine หนอนไหมแข็งแรง แต่เส้นไหมมีคุณภาพด้อยกว่า  Monovoltine  ดังนั้นจึงนิยมนำมาผสมกับ  Monovoltine เพื่อให้ได้พันธุ์ไหมที่มีคุณภาพเส้นที่ดีขึ้น รังไหมมีสีขาว เหมาะสำหรับเลี้ยงในประเทศเขตอบอุ่น และนิยมเลี้ยงในฤดูร้อนของประเทศในเขตอบอุ่น ความยาวเส้นไหมต่อรังประมาณ 1,000-1,200 เมตร

Ployvoltine
         เป็นพันธุ์ไหมที่อยู่ในแถบอากาศร้อนชื้นเช่น ไทย ลาว หนอนไหมมีอายุสั้นกว่าทั้ง 2 สายพันธุ์ข้างต้น และมีความแข็งแรงมาก รังมีขนาดเล็ก รังไหมมีทั้งสีขาวและสีเหลือง สามารถสาวเป็นเส้นไหมได้ปริมาณน้อย แต่เส้นไหมมีความมันเงาสูง แต่จะมีปุ่มปมมาก และเป็นสายพันธุ์ที่ไม่สามารถ Hibernate (จำศีล) ได้เหมือน 2 สายพันธุ์ข้างต้น ดังนั้นไข่ไหมจึงไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ ต้องใช้ไข่ไหมต่อเนื่องทั้งปี ความยาวเส้นไหมต่อรังประมาณ 200-400 เมตร


พันธุ์บุรีรัมย์  
ให้ผลผลิตใบหม่อน  4,000  กิโลกรัม / ไร่ / ปี  ลักษณะเด่น  แตกกิ่งได้เร็ว  กิ่งมีสีน้ำตาล  ใบไม่แฉก ผิวใบเรียบ  ใบใหญ่หนา  อ่อนนุ่ม  ต้านทานโรคใบด่าง  ขยายพันธ์โดยการปักชำ

 

สภาพโรงเลี้ยง

          1.  จะต้องสร้างในแนวหรือทางทิศตะวันตกและตะวันออกของตัวบ้าน
          2.  จะสะดวกต่อการทำความสะอาดและสะดวกต่อการเดินหรือนั่งเวลาเลี้ยงไหม
          3.  มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
          4.  โรงเลี้ยงไหมจะต้องขึงรอบด้วยตาข่ายเพื่อไม่ให้มีแมลงเข้าไปได้
          5.  ควรมีการปลูกต้นไม้รอบๆหรือไม่ควรเลือกสถานที่ที่เลี้ยงไหมไว้กลางแจ้งมากเกินไปเพราะจะทำให้ตัวไหมทนต่อความร้อนไม่ได้และอาจจะตายได้
          6.  ขนาดโรงเลี้ยงไหมนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่พอสมควรหรือขึ้นอยู่ว่าเราจะเลี้ยงมากหรือน้อย
          7.  ขนาดของชั้นเลี้ยงไหมขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเลี้ยงไหม และความสะดวกในการปฏิบัติงาน ชั้นเลี้ยงแต่ละชั้นควรสูงห่างกัน 60 – 70 เซนติเมตร เช่น
 - โรงเลี้ยงไหมขนาด 6x8 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 1.5 x 6 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)
    - โรงเลี้ยงไหมขนาด 8 x12 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 2.0 x 9.0 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)



วัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหม

          1.  กระด้งและชั้นวางไหม


2.  จอใส่ไหม


3.  มีดหรือกรรไกรและเขียง


4. ผ้าคลุมกระด้ง



5.  ตาข่ายกันแมลง



6.  โรงเลี้ยงไหม

การจองและรับไข่ไหม
         1) การสั่งจองไข่ไหม ควรทำแผนการเลี้ยงไหมตลอดปีกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยแจ้งชื่อที่อยู่ วัน เดือน ปี ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นและจำนวนไข่ไหม ส่งให้ทราบล่วงหน้าต้นปี
         2) การยืนยันความต้องการไข่ไหมทุกรุ่น ควรแจ้งก่อนการเลี้ยงไหมอย่างน้อย 20 วัน
         3) การรับไข่ไหม ควรจะตรงเวลาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเคร่งครัด
         4) การขนส่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าหรือเย็น
         5) ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯในการจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์


วิธีการเลี้ยงไหม
การเตรียมการเลี้ยงไหม
         1) เตรียมสวนหม่อนเลี้ยงไหมในระดับครัวเรือนซึ่งจะต้องใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงจนถึงไหมทำรังประมาณ 300 – 400 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)
         2) ทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการล้างทำความสะอาด หรือนำไปผึ่งแดดแล้วนำไปฉีดอบฟอร์มาลีน3 %ในโรงเลี้ยงอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร โดยอบทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน จึงเปิดโรงเลี้ยงให้กลิ่นฟอร์มาลีนระเหยอย่างน้อย 1 วัน จึงจะเข้าเลี้ยงไหมได้ (ส่วนผสมฟอร์มาลีน3 % = ฟอร์มาลีน40% 1 ส่วน ต่อน้ำ 13 ส่วน)
         3) เตรียมสารเคมีโรยตัวไหม เพื่อใช้โรยบนตัวไหมตอนเลี้ยงแรกฟัก และไหมตื่นทุกวัยใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง) หรือคลอรีนผง 3.5 % (คลอรีน 60% จำนวน 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 17 ส่วน)
         4) เตรียมแกลบเผาและ/หรือ ปูนขาวโรยบนตัวไหมในระยะหนอนไหม เพื่อลดความชื้น
         5) เตรียมภาชนะใส่เศษใบหม่อนและมูลไหม
         
การให้อาหาร 
ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีต้องกินใบหม่อนสด มีคุณภาพดี ปริมาณเพียงพอ ตามเวลาที่กำหนดโดยเลี้ยงวันละ 3 มื้อ กลางวันให้ 2 เท่าของมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้ 4 เท่าของมื้อเช้า เนื่องจากระยะเวลากินยาวกว่า ใช้ปริมาณใบหม่อนประมาณ 22 – 25 กิโลกรัม/แผ่น(กล่อง) สำหรับการเลี้ยงไหมแบบสหกรณ์ จะใช้ใบหม่อนประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)



วิธีเลี้ยงไหมวัยแก่ (วัย 4 – 5  วัน)
§ ระยะการเลี้ยงแต่ละวัย
§  วัยที่ 4 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 วัน นอน 11/2 วัน
§  วัยที่ 5 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 วัน ไหมจะสุกทำรัง

การเก็บและการให้ใบหม่อน
การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้
§  วัยที่ 1 เก็บใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอด
§  วัยที่ 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4–6 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่ 1 – 6
§  วัยที่ 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7–10 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่1–10 หรือตัดใบกิ่งสีเขียว

 การให้ใบหม่อน
§  วัยที่ 1 ให้หม่อนหั่นมีขนาดกว้าง 0.5 – 1.0 ซม.ความยาว 3 – 4 เท่าของความกว้าง
§  วัยที่ 2 ให้หม่อนหั่นกว้าง 1.50 – 2 ซม.

§  วัยที่ 3 ให้หม่อนหั่นกว้าง 2.5 – 3 ซม.