บทความ

แบบทดสอบ

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์ แบบทดสอบความรู้ 1. หมู่บ้านสังแกตั้งอยู่ที่ใดในจังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ 5 ตำบลแงล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ 6 ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ 7 ตำบลแมล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ หมู่ที่ 8 ตำบลแวล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2. บ้านสังแกเดิมชื่อว่าอะไร บ้านแจรน บ้านจระแก บ้านสะแก บ้านระแม 3. ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านสังแกคือใคร นายแก้ว ฉิมมาลี นายยิ ศรีวิเศษ นายจำเริญ บันลือทรัพย์ นายแก้ว ลักขษร 4. ทางทิศใต้ของหมู่บ้านสังแกมีวัดชื่อว่าอะไร สำนักสงฆ์เนติธรรม สำนักสงฆ์บ้านสังแก สำนักสงฆ์บ้านสะแก สำนักสงฆ์ศรีสังแก 5. ใครเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ปกครองหมู่บ้านสังแกได้นานที่สุด นายยิ ศรีวิเศษ นายเหลิน บุตรดีขันธ์ นายแก้ว ฉิมมาลี นายสมบูรณ์ พิมพ์จันทร์ 6. ปรัชญาประจำหมู่บ้านสังแกมีอยู่ว่าอ่างไร มุ่งพัฒนา เน้นคุณธรรม กีฬาเด่น สามัคคี สามัคคี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม มุ่งพัฒนา มุ่งพัฒนา สามัคคี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม มุ่งพัฒนา กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม สาม

บทที่ 3 การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

รูปภาพ
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การปลูกหม่อนของหมู่บ้านสังแก           จากการสัมภาษณ์   คุณยายพัดสา   ทองนำ บ้านเลขที่     39/1      ได้กล่าวว่า การปลูกหม่อนของหมู่บ้านสังแกนั้นจะต้องเตรียมการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับการเลี้ยงไหม จำนวนหม่อน 1     ไร่   จะต้องเลี้ยงไหมได้ประมาณ     3-5    แผ่นหรือที่เรียกว่ากระจาดเลี้ยงไหมต่อปี   ( รุ่นละ     1    แผ่นๆละประมาณ     10,000-15,000    ตัว)   ปีละ     3-4    รุ่น   และยังกล่าวอีกว่าแปลงไหมที่ดีควรปลูกระยะห่างระหว่างแถวประมาณ   2    เมตร   และระยะห่างระหว่างต้นประมาณ     1    เมตร   หรือแล้วแต่เราจะวางและไม่ควรปลูกติดกันเกินไปเพราะจะทำให้เวลาต้นหม่อนโตขึ้นมาจะได้ไม่ต้องเบียดเสียดกันและยังง่ายต่อการเก็บอีกด้วย             จากการสัมภาษณ์   คุณยายสำเนียง   บรรลือทรัพย์   บ้านเลขที่     37   กล่าวว่าการปลูกหม่อนนั้นจะต้องเตรียมดินก่อนที่เราจะปลูก   เราจะต้องไถเพื่อเปิดร่อง   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก   และต้องมีน้ำเลี้ยงมากพอสมควร   บางบ้านก็ต่อท่อน้ำเพื่อใช้ในการรดต้นหม่อน   และในการปลูกระยะแรกเราควรที่จะเอาฟางมาวางไว้ข้างบนเพื่อที่จะได

บทที่ 6 การผลิตและการจำหน่าย

รูปภาพ
การผลิตและการจำหน่าย               ในการผลิตผ้าไหมของหมู่บ้านสังแกนั้นได้ผลิตขึ้นเพื่อการจำหน่ายสู่ท้องตลาดและผลิตเพื่อการส่งเสริมอาชีพและรายได้หลังจากการว่างจากการทำไร่   ทำนา   และยังเป็นโครงการของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านสังแก   ผ้าไหม     1    ผืน   จะจำหน่ายผืนละประมาณ     1,000-15,00    จะขึ้นอยู่กับการยกลายหรือการผสมผสานของลายที่มัดยากและในช่วงที่เป็นเทศกาล   เช่น   เทศกาลวันขึ้นปีใหม่   วันสงกรานต์   วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา   ในเวลา     3 - 4    วัน   จะทอได้ประมาณ     1-2    ผืน   ลายยำ เมือน (   ความกว้าง     1.5    เมตร   ความยาว     2.5    เมตร   ขายในราคา     1,300    บาท / ผืน) ลายตาชั่งหรือลายพระเทพ     (ความกว้าง     1.5  เมตร   ความยาว     2.5    เมตร ขายในราคา     1,300    บาท / ผืน) ลายเทียน     (ความกว้าง     1.5    เมตร   ความยาว     2.5    เมตร   ขายในราคา     1,300    บาท / ผืน) ลายเต่างับ     (ความกว้าง     1.5    เมตร   ความยาว     2.5    เมตร   ขายในราคา     1,300    บาท / ผืน) ลายนกยูงกับดอกกระเจียว  

บทที่ 5 การทอผ้าไหม

รูปภาพ
                                        การทอผ้าไหม การทอผ้าไหม มรดกทางวัฒนธรรมของชาวสุรินทร์โบราณ   อย่างหนึ่งที่ทิ้งไว้ให้แก่ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมรในปัจจุบันคือ ศิลปะในการทอผ้าไหม  เพราะถึงแม้ว่า  ผ้าไหมจะมีการทอใช้ในท้องที่หลายแห่งของประเทศไทยก็ตาม  แต่รูปแบบของศิลปะ  ลวดลาย  และวิธีการทอผ้าในท้องที่ดังกล่าวนั้น  ก็ไม่เหมือนที่มีอยู่ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ การเตรียมเส้นไหม ชาวสุรินทร์สมัยก่อน  เวลาอพยพครอบครัวไปอยู่หมู่บ้านอื่น  สัมภาระที่ต้องขนกันมาก  ดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องมือทอผ้า  เพราะดูเหมือนว่าการบรรทุกเครื่องมือทอผ้านั้น เกวียนเล่มหนึ่งแทบจะขนไม่หมด  เพราะเครื่องมือเหล่านั้นมีมาก     ในการเตรียมเส้นไหมก่อนที่จะเข้ากี่ทอผ้า  ก็เช่นเดียวกัน  ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีแม่กับลูกสาว  2 คน ช่วยกันเตรียมเส้นไหมเพื่อทอผ้าไหมมัดหมี่ เขาจะต้องใช้เวลาในการเตรียมเส้นไหม เป็นเวลาถึง 3 เดือนทีเดียว นั่นก็หมายความว่า เขาจะต้องใช้เวลาหลังการเก็บเกี่ยวทั้งฤดูกาล เพียงเพื่อทอผ้าไหมให้ได้เพียง 1 กี่เท่านั้น (ถ้าเป็นผ้านุ่ม จะได้ประมาณ 12 ขีด 15 ผืน ต่อหนึ่งกี่) ก.